วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

AOC E2357Fh

           
               กราบสวัสดีชาว ITช่วงที่ผ่านมาก็คงเต็มอิ่มกับการอัพเดทเทคโทคโนโลยีจากงานคอมพิวเทคกันไปเรียบร้อยแล้ว โดนส่วนตัวผมก็ยังรู้สึกไม่หายปวดเท้าจากการเดินในงานอยู่เลยครับ แต่ว่าชีวิตก็ต้องเดินต่อไป ซึ่งในเรื่องราวสำหรับวันนี้จะเป็นจอมอนิเตอร์แอลอีดีจากทาง AOC ในโมเดล E2357Fh ที่เพิ่งได้รับราววัล IF Award ทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มาเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาสำหรับ AOC 57 Series โดยภาพรวมของ AOC E2357Fh ที่ได้รวบรวมความโดดเด่นของจอแอลอีดียุคสมัยนี้กันเต็มที่คือ Contrast (DCR) ที่ 20000000:1 ,Response Time 2ms และ ความสว่างสูงที่ 250 cd/m2 ถ้าพูดถึงแต่เรื่องสเป็คอย่างเดียวก็คงดูธรรมดาไปซะหน่อยแล้ว AOC E2357Fh เน้นไปถึงการออกแบบดีไซน์ที่ดูสวยงามหรูหราที่มาพร้อมกับการออกแบบที่ดูบางมากๆ รวมไปถึงรูปแบบการวางที่ AOC นั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้ จะเป็นในรูปแบบลักษณะของโฟโต้เฟรมหรือจอมอนิเตอร์ ที่นับว่าเป็นความหยืดหยุ่นเพื่อให้เข้ากับสไตล์และรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วยครับ

Package & Bundled
ตัวแพ็คเกจที่เป็นกล่องกระดาษสีน้ำตาล มีลวดลายให้พอเข้าใจได้ว่าเป็น AOC 57 Series โดยของในกล่องนั้นแผ่นซีดีโปรแกรมการติดตั้งและ คู่มือที่ต้องให้มาเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ,หม้อแปลงไฟพร้อมสาย AC รูปแบบต่างๆ ,สาย HDMI และ D-Sud สุดท้ายเป็นผ้าเช็ดจอครับ 

Monitor Detail


มาถึงตัวมอนิตอร์กันที่ดูรูปลักษณ์แล้วจะเห็นได้ทันทีว่าการออกแบบนั้นที่ดูเรียบง่าย บางเบา และดูหรูหรามีสไตล์กันสุดๆครับ วัสดุโดยรวมเป็นพลาสติกสีดำเงา ส่วนขอบด้านล่างจะเป็นฝาครอบอลูมิเนียมที่ดูสวยงาม คงใส่แผ่นอลูมิเนียมเข้ามาเพื่อให้ดูหน้าจอสีดำเงานั้นมันไม่เลี้ยนเกินไปมากนัก จากภาพเห็นแล้วคงจะเห็นว่าหน้าจอเป็นแบบเงา เพื่อให้สีสรรค์ที่ออกมานั้นดูสวยและสดใสเหมาะกับการใช้งานในรูปแบบของมัลติมีเดียเป็นอย่างดี
ถ้ามองแต่ที่ขอบรอบๆจอแต่อย่างเดียวก็จะเห็นได้ว่ามันบางสุดๆ
ปุ่มการสั่งการนั้นจะเป็นลักษณะแบบการสัมผัสสั่งการตามความนิยมของจอมอนิเตอร์แบบบางๆในยุคนี้ รูปแบบการสั่งการที่จะมีเปลี่ยนไปบ้างจากจอ AOC โมเดลในปี 2011 ขออธิบายไล่จากขวาไปซ้ายครับ Power , Menu/Enter , Rigtht , Left และ Input select/Exit
การออกแบบของช่วงแผ่นหลังนั้นจะความเรียบง่ายรวมกับการใช้วัสดุพลาสติกสีดำเงาที่ช่วยให้ดูหรูหรามีสไตล์ สำหรับ AOC E2357Fh จะไม่มี VESA Wall Mounting ที่ช่วงด้านบนจะมีการติดโลโก้ AOC สีเงินแบบชุบโครมเมี่ยมมาด้วย พอร์ตการเชื่อมต่อหลักๆเริ่มจากในภาพซ้ายก่อน ช่อง DC in, Port D-Sub (RGB) ,แจ็คต่อหูฟัง 3.5 มม. ,แจ็คต่อสัญญาณเสียงเข้าในกรณีที่ใช้สัญญาณภาพจาก D-Sub ส่วนทางภาพด้านขวาจะเป็นพอร์ต HDMI สองพอร์ตที่รองรับการปล่อยสัญญาณเสียงเข้ามาพร้อมภาพ บริเวณสันๆที่เหนือพอร์ตการเชื่อมต่อที่เห็นว่ามันมีรูๆจากทั้งสองภาพ ซึ่งนั้นก็คือลำโพงในตัว ที่ผมว่าอย่าไปคาดหวังกับคุณภาพเสียงอะไรมาก แต่เค้ามีมาให้นั้นก็ดีกว่าไม่มี บางคนนั้นอาจพอใจกับเสียงที่ออกมาได้เหมือนกัน


Samsung Galaxy S III (S3) GT-I9300 (HD)

OCZ Power Supply Unit ZX Series 850W


สวัสดีชาว     IT ทุกท่านครับ กลับมาพบกันอีกเช่นเคยในบทความการทดสอบเพาเวอร์ซัพพลายกันอีกครั้ง ในวันนี้ผมเพิ่งได้เพาเวอร์ซัพพลายมาจากทาง ARC ในแบรนด์ดังอย่าง OCZ ซึ่งเป็นตัวแรกของยี่ห้อนี้ที่ได้ทดสอบกับทางโอเวอร์คล็อคโซนและจะมาอีกหลายๆรุ่นนับจากนี้ครับ ซึ่งรุ่นที่นำมาทดสอบเป็นหนึ่งในตระกูล ZX Series ในขนาดกำลัง่ายไฟ 850 วัตต์ ได้ผ่านการรับรองมาตราฐาน 80Plus Gold ใช้ระบบการจ่ายไฟ 12V แบบ Combine 6 ราง (12V Single Rail) ที่สามารถจ่ายกระแสได้มากถึง70Aหรือ 840 วัตต์ (เฉพาะ 12V อย่างเดียว) รองรับกราฟฟิกการ์ดโหดๆได้แน่นอน ส่วนดีไซน์ภายนอกออกแบบมาอย่างหรูหราและดุดัน ในโทนสีดำตัดกับสีทองเน้นความเงียบและความเย็นเป็นสิ่งสำคัญส่วน และที่สำคัญกว่านั้นคือรับประกันให้มากถึง 5 ปี!! ส่วนประสิทธิภาพของเพาเวอร์ซัพพลายลูกนี้จะเป็นเช่นไร วันนี้ได้เห็นกันอย่างจุใจแน่นอน แต่ก่อนอื่นเราไปชมหน้าตา ดีไซน์ กันก่อนดีกว่าครับ... !!!!!

Package & Bundled



ซึ่งภายในกล่องดำๆในภาพก่อนหน้านี้ ก็ยังมีกล่องอีกหนึ่งกล่อง (จะเยอะไปไหน) 
ตามด้วยถุงผ้าสำหรับเก็บสาย connectors คู่มือการใช้งาน และใบ Certificate 80 Plus Gold
และในกล่องดำๆกล่องย่อย ก็จะมีสาย AC ที่เป็นหัวแบบ Walsall Gauge สำหรับใช้ในประเทศอังกฤษทางด้าซ้ายมือ 1 เส้น
ตามมาด้วยสายรัดแบบตีนตุ๊กแกของ OCZ อีก 5 ชิ้น และน็อตแบบมือหมุนอีก 4 ตัว อันสุดท้ายคือสาย AC CEE 7/7 plug อีกเส้น

Outside Detail

ตอนแรกคิดว่าสภาพมันคงสมบุกสมบัน แต่พอนำออกจากกล่องมาค่อยชื่นใจหน่อยครับนี่ก็เป็นหน้าตาของเจ้า ZX 850W พระเอกรูปงามของเราในวันนี้ ทรวดทรงองเอวมีสัดส่วนอยู่ที่ 150 x 175 x 86 มิลิเมตรบอดี้เป็นสีดำด้านแต่มีพื้นผิวเรียบไม่สากมือ เนื้อบอดี้เป็นเหล็กอย่างหนา หน้าตาไฮโซซะ! 
แถบด้านข้างเป็นสติกเกอร์กึ่งพลาสติกอย่างหนา ผิวดำๆด้านๆ มีลายน้ำ ZX สีเทาตัวเท่าหม้อเพิ่มความขลังส่วนสีเงินและสีทองที่อยู่บนแผ่นสติกเกอร์เป็นสีชนิดมันเงาเพิ่มความหรูหราได้มากเลยทีเดียว เวลาแดดสองเคสแสบตาน่าดู

สวิทช์ขนาดใหญ่ และช่อง AC พร้อมวงจรกล่องกระแสภายในช่องรังผึ้งเจาะไว้ไม่เยอะนักแต่ก็พอมองเห็นไส้ในคร่าวๆว่าอะไรอยู่ตรงไหนบ้าง


ASUS P8Z77-V PREMIUM

 สวัสดีครับ... สำหรับพื้นที่ของบททดสอบของแรงๆกับเรื่องราวมันส์ๆ หลังจากที่จะต้องเปิดทางให้กับกิจกรรมแสดงสินค้าคอมพิวเตอร์และไอทีที่ใหญ่ที่สุดในโลกกับงาน Computex Taipei 2012 เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และจากในงาน Computex Taipei 2012 ในปีนี้นั้นหากจะกล่าวถึงเรื่องราวหรือกระแสของทางด้าน Hardware Computer หรืออุปกรณ์ในกลุ่มที่เรียกว่า Component PC นั้นจะว่าไปแล้วก้ค่อนข้างเงียบเหงาพอสมควร ยังไม่มีอะไรใหม่สดจริงๆในแบบที่เรียกว่าเรียกเสียงตกใจหรือ WOW ได้เลย จะมีบ้างก้เพียงประปรายเท่านั้น เช่นเดียวกันกับตลาดในส่วนของเมนบอร์ดนั้นจากงานที่ผ่านมาประเด็นใหญ่ที่จะตกเป็นข่าวที่พูดถึงกันมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น เมนบอร์ดจากตระกูล ROG จากทาง ASUS ที่ได้มีการเปิดตัวเมนบอร์ดพร้อมๆกันสองรุ่นสองโมเดลคือ MAXIMUS V FORMULA และ MAXIMUS V EXTREME ซึ่งหากใครที่ติดตามข่าวคราวผ่านทางหน้าเวบของเรานั้นก็คงจะรับทราบกันไปบ้างแล้ว ทั้งในเรื่องของฟีเจอร์เด่นและรูปร่างหน้าตาว่ามันเป็นเช่นไร และขอกระซิบบอกไว้ตรงนี้เลยล่ะกันนะครับว่าสำหรับในโมเดล MAXIMUS V FORMULA ก็พร้อมรอทุกท่านอยู่ใน Labs ของเราเป้นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ !!! ในวันนี้เรายังจะไม่นำมาให้ได้ชมกันแต่อย่างใด เพราะว่าเรามีอีกหนึ่งโมเดลที่น่าสนใจไม่แพ้กันมานำเสนอให้ได้รับชมกันก่อนสักเล็กน้อย กับเมนบอร์ดในโมเดล P8Z77-V PREMIUM ซึ่งจัดเป็นเมนบอร์ดตัวแรกของโลกเลยก็ว่าได้ที่ได้รับการรับรองจากทางอินเทลกับมาตรฐานการรับส่งข้อมูลความเร็วสูง ในมาตรฐานใหม่ภายใต้ชื่อว่า Intel Thunderbolt นั่นเอง แต่ทว่าในวันนี้เราคงไม่มีบททดสอบเกี่ยวกับเจ้า Thunderbolt ตัวนี้ให้ได้ชมด้วยแน่นอน เพราะด้วยที่ว่าเรายังไม่มีอุปกรณ์เชื่อมต่อในมาตรฐานดังกล่าวนี้นั่นเอง แต่ทว่าเรื่องราวของการทดสอบเมนบอร์ดนั้นจะยังคงเข้มข้นเหมือนเดิมแน่นอน โดยเจ้า P8Z77-V PREMIUM ตัวนี้นอกจากจะมีความโดดเด่นในเรื่องของ Thunderbolt แล้วนั้นมันก้จะยังมีอะไรอีกหลายๆอย่างที่น่าสนใจไม่น้อย ซึ่งมันจะมีอะไรที่น่าสนใจมากน้อยขนาดไหน เราไปติดตามชมกันเลยดีกว่านะครับ


Package & Bundled

 เช่นเคยล่ะครับเรามาว่ากันที่ตัวแพ็กเกจของมันกันสักเล็กน้อย โดยในภาพรวมของหน้าตาและสีสันของตัวกล่องนั้นก้ยังมาในคราบที่คุ้นเคยสำหรับเมนบอร์ดในตระกูล P8 ที่ผ่านมา กับการเลือกใช้โทนสีดำสลับเทาและจะมาพร้อมกับตัวอักษรสีเขียวอ่อน ส่วนตัวอุปกรณ์บันเดิลนั้นมองๆดูแล้วก็ไม่น่าจะมีอะไรเป้นพิเศษหรือแปลกตาไปจากทุกครั้งมากนัก จะมีก็เพียงเจ้า 4Ways SLI bridge ที่ถือเป้นของแปลกตาสำหรับเมนบอร์ดจากตระกูล Z77 เพราะโดยมากแล้วมักจะไม่รองรับการทำงานในแบบ 4Ways SLI นั่นเอง แต่เจ้า Premium ตัวนี้พร้อมรบสำหรับคอเกมส์กระเป๋าหนักเต็มพิกัด


Board Details


จากในรายละเอียดของเรื่องราวจากส่วนของตัวแพ็กเกจที่พอจะทราบกันคร่าวๆแล้วว่าอีกหนึ่งจุดเด่นของเมนบอร์ดตัวนี้นอกจากเรื่องของ Thunderbolt แล้วนั้นก้จะเป้นความสามารถในการใช้งาน Multi-GPU หรือ Multi-Card จากฝั่ง nVidia ได้ในระดับ 4Ways SLI แบบแท้ๆหรือในแบบ 4x Cards นั่นเองไม่ใช่ 4Ways จากการ์ด Dual GPU จำนวนสองใบ ซึ่งจุดที่เราจะมาว่ากันตรงนี้ก็เห็นจะเป็นเรื่องของขนาดตัวของเมนบอร์ดที่มันนั้นยังคงมาในขนาดมาตรฐาน ATX ทั่วๆไป อาจจะยาวขึ้นบ้างเล็กน้อยแต่ก็เพียงประมาณ 15mm เท่านั้นยังไม่ถึงกับขั้น XL-ATX ที่จะต้องมองหา PC Case เฉพาะรุ่นที่รองรับ มันยังคงสามารถเลือกติดตั้งใช้งานได้กับ PC Case ทั่วๆไปได้ทันที ส่วนสีสันนั้นก็คุ้นตากันดีอย่างแน่นอนสำหรับเมนบอร์ดจากตระกูล P8 หรือ Performance Series ยุคที่ 8 กับการเลือกใช้โทนสีฟ้าเทาดำ โดยตัว PCB นั้นรอบนี้มาในแบบดำสนิทไม่ออกดำน้ำตาลหรือน้ำตาลไหม้แต่อย่างใด ส่วนเลย์เอาท์ของการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆก็ยังคงจัดวางได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยตามสไตล์ของ ASUS เช่นทุกครั้ง




สำหรับในส่วนของตัวซีพียูที่ใช้งานนั้นคงไม่ต้องอธิบายกันให้ยืดยาวแล้วมั๊งครับ เอาเป็นง่ายๆว่าขอให้เป็นซีพียุจากตระกูล Sandy Bridge และ Ivy Brigde บนแพลทฟอร์ม LGA-1155 ก็ใช้งานได้หมดในทุกๆโมเดล โดยชุดภาคจ่ายไฟซีพียุนั้นทาง ASUS ก็ออกแบบมาให้อย่างจุใจในขนาดที่ใหญ่โตถึง 20 เฟสกันเลยทีเดียว (16+2+2 / CPU+IMC+iGFX) งานนี้ถ้าไฟยังไม่นิ่งอีกก็ไม่รุ้จะว่ายังไงแล้วล่ะครับ ส่วนตัวเมโมรีนั้นหากพูดถึงสเต็ปมาตรฐานของซีพียุที่รองรับ หากกล่าวกันง่ายๆสั้นๆก็จะได้ว่า ถ้าใช้งานซีพียุในตระกูล Ivy Bridge ก็จะรองรับความเร็วสุงสุดในแบบ Native ที่ 2800MHz ส่วนถ้าเป็น Sandy Bridge ก็รองรับสูงสุดที่ 2133MHz ตามที่ทราบๆกัน และเมโมรีที่ใช้ก็แน่นอนว่าจะต้องเป็น DDR3 ในแบบ Dual Channel ที่สามารถรองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 32GB จากจำนวนสล๊อตที่ให้มาจำนวนสี่แถวตามมาตรฐานทั่วๆไป


จุดที่มีความพิเศษอย่างหนึ่งของเมนบอร์ดในโมเดลนี้ที่เราได้มีการกล่าวถึงไปบ้างแล้วในเบื้องต้นก็คือ ความสามารถเกี่ยวกับการใช้งานในแบบ Multi-Card ที่ทาง ASUS นั้นได้ออกแบบมาให้รองรับได้มากถึง 4Ways-SLI ในแบบ 4 การ์ดแท้ๆ ซึ่งน่าจะพบเห็นได้น้อยมากสำหรับเมนบอร์ดในตระกูล Z77 ที่จะรองรับ 4Ways SLI โดยที่ทาง ASUS ได้มีการติดตั้งชิบ PCI Express Bridge เพิ่มเติมมาให้อีกหนึ่งตัวที่จะมีแบนวิดท์เพิ่มขึ้นมาอีก 16 เลนและพร้อมรองรับ PCI Express 3.0 ซึ่งตรงนี้จะเป็นชิบจากทาง PLX ในรหัส PEX 8747(ต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้รื้อให้ชมกัน เนื่องจากว่าเวลามีน้อย) โดยความเร็วที่รองรับในการเชื่อมต่อกราฟิกการ์ดจากสล๊อต Pci-e x16 ทั้งสี่แถวที่ให้มานั้น ก็เป็นไปตามสเต็ปมาตรฐานคือ กรณี 2Ways SLI/Crossfire ความเร้วที่ได้ก็จะเป็น 16x + 16x และมีข้อแม้ว่าจะต้องติดตั้งในสล๊อตสีฟ้าเท่านั้น เพราะสล๊อตสีเทานั้นจะให้แบนด์วิดท์ได้สูงสุดเพียง 8x เท่านั้นดังนั้นหากใช้งานครบเซตในแบบ 4Ways SLI/CrossfireX ความเร็วที่ได้ก็จะต้องเป็น 8x + 8x + 8x + 8x นั่นเอง


ส่วนตัว PCH Chip ในรหัส Z77 นั้นกับความสามารถของมันก็คงพอจะทราบบ้างแล้วว่า มันจะรองรับการเชื่อมต่อ SATA ได้ทั้งสิ้นจำนวน 6 พอร์ทโดยแบ่งเป็น SATA 3.0 จำนวน 2 พอร์ทและ SATA 2.0 จำนวน 4 พอร์ททั้งนี้ก็ยังจะรองรับการควบคุม USB 3.0 ในแบบ On-Chip อีกจำนวน 4 พอร์ทด้วยกัน ส่วนรูปทรงของตัวฮีตซิงก์ PCH นั้นรูปร่างหน้าตาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเมนบอร์ดในโมเดล P8Z77 ตัวอื่นๆแต่อย่างใด แต่ทว่ามันมีความพิเศษกว่าตัวอื่นๆเล็กน้อยสำหรับการเพิ่มลูกเล่นในการติดตั้ง LED ไว้ใต้ฮีตซิงก์และเมื่อเปิดใช้งานตัวอักษร ASUS ก็จะกลายเป็นแสงสีฟ้า สำหรับ SATA Port ที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นว่าจะควบคุมโดย PCH จำนวนทั้งหมด 6 พอร์ทด้วยกันนั้น มันจะประกอบไปด้วยพอร์ทสีฟ้าอ่อนในแนวนอน(ขวามือสุด)จำนวนสองพอร์ทที่จะเป็น SATA 2.0 และพอร์ทสีขาวจะเป็น SATA 3.0 ส่วนพอร์ทสีฟ้าอีกหนึ่งพอร์ท(ขวามือสุดในแนวดิ่ง) ก็จะเป็น SATA 2.0 รวมทั้งหมดและ 5 พอร์ท และคงสงสัยกันว่าหายไปไหนอีกหนึ่งพอร์ท เดี๋ยวเราจะมีคำตอบมาให้ชมกันแต่ก่อนจะไปว่ากับพอร์ทที่หายไป เรามาดูกันที่พอร์ทสีน้ำเงินจำนวน 4 พอร์ทกันก่อนสักนิดซึ่งจะเป็น SATA 3.0 ที่ควบคุมโดย Marvell 9230

WiFi / Bluetooth Card


WiFi/Bluetooth Card ตัวเล็กๆที่บันเดิลมานั้น ซึ่งจะมีพื้นที่สำหรับติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณของ Back I/O Panel ซึ่งตัวการ์ดก็จะรองรับการใช้งาน WiFi ในมาตรฐาน 802.11 a/b/g/n ครบครันพร้อมทั้งยังจะสามารถใช้เป็นทั้งตัวรับและตัวส่งไปพร้อมๆกันได้อีกด้วย และนอกจากนี้ก็ยังจะสามารถรับส่ง Bluetooth ได้ในมาตรฐาน v4.0/3.0+HS อีกด้วย สำหรับพอร์ทเชื่อมต่อต่างๆในบริเวณ Back I/O Panel นั้นก็จะประกอบด้วย USB 3.0 จำนวน 4 พอร์ท ที่ไม่ต้องบอกก็น่าจะรู้ว่าพอร์ทไหนและ USB 2.0 จำนวนสองพอร์ทซึ่งจะมีสติ๊กเกอร์ปิดทับเอาไว้เพื่อบ่งบอกให้ทราบว่า ให้เชื่อมต่อเมาส์และคีย์บอร์ดได้ที่นี่ งานนี้สาวก PS/2 ก็ต้องหงอยอีกตามเคย จากนั้นก็จะมี e-SATA 3.0 จำนวนสองพอร์ท, Dual RJ-45, 6x Analog Audio Jack, 1x Optical S/PDIF out, HDMI และ Display port ส่วนพอร์ททีเด็ดของงานนี้สำหรับ Thunderbolt นั้นเดี๋ยวเรามาชมกันใกล้ๆครับว่ามันจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

ฟังเพลงคายเครียด

ยินดีต้อนรับ คอมพิวเตอร์ IT